7 บทเรียนจากปรัชญา วะบิ- ซะบิ ความสุขของการยอมรับ “ความไม่สมบูรณ์แบบ”

ในโลกปัจจุบันที่ทุกคนรอบตัวดูสมบูรณ์แบบไปหมด “ยกเว้นตัวเราเอง” พอไถฟีดโซเชียล ก็จะเห็นแต่ทุกคนที่ดูมีความสุข มีหน้าที่การงานที่ดี ไปเที่ยวในที่ที่สวยงาม ออกรถ ออกบ้านใหม่ ในขณะที่เราอยู่ในห้องสี่เหลี่ยม เป็นแค่คนธรรมดาคนนึง ทำให้เรารู้สึกว่าตัวเองต้อยต่ำ ด้อยค่าตัวเองว่า เรามันไร้ความสามารถทำไมชีวิตเราถึงไม่เป็นเป็นเหมือนเขานะ ?

ทางเราอยากจะบอกคนที่กำลังเจอปัญหานี้ว่า
“ทุกคนล้วนไม่สมบูรณ์แบบ”
สิ่งที่คุณเห็นเป็นเพียงฉากหน้าเป็น “ความจริง ที่ปลอม”

เพราะเราทุกคนล้วนอยากแสดงเพียงสิ่งที่ดีที่สุดออกมา แต่ฉากหลังนั้น ทุกคนต่างต้องพบเจอเผชิญอุปสรรค และความยากลำบาก

[งั้นเราควรแก้ปัญหานี้ยังไงดีล่ะ?]
คำตอบคือ ใช้ชีวิตให้เรียบง่ายลง และยอมรับความจริงที่ว่า

“ความไม่สมบูรณ์แบบนี่แหละ คือความสวยงามที่สุดแล้ว”
“เพราะไม่สมบูรณ์แบบ เราจึงเป็นมนุษย์”

ดั่งเช่นปรัชญาของชาวญี่ปุ่นที่เราจะมาพูดคุยกันวันนี้ นั่นคือ วะบิ – ซะบิ ปรัชญาแห่งการโอบรับความไม่สมบูรณ์แบบ การมีตำหนิ ร่องรอย การเสื่อมตามกาลเวลา ทั้งคนและสิ่งของ

“วะบิ” หมายถึง ความเรียบง่าย
“ซะบิ” หมายถึง การค้นหาความสุขในความไม่สมบูรณ์แบบ

พูดง่ายๆ ก็คือ วะบิ-ซะบิ เป็นการ “เบนเข็มทิศ” จากการมุ่งสู่ความสมบูรณ์แบบไปอยู่ที่ “การใช้ชีวิตอย่างเข้าใจกฎธรรมชาติ” ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น ผ่านความเรียบง่าย
และอยู่กับปัจจุบันแทน

[1. Revealing your imperfections.]
ยอมเปิดเผยความไม่สมบูรณ์แบบ

ปัญหาของการแสวงหาความสมบูรณ์แบบ คือ
มันจะครอบงำชีวิตของคุณ
คุณจะคิดถึงแค่อนาคตข้างหน้า
ต้องดีกว่านี้ เพอร์เฟคกว่านี้
ซึ่งการที่มี mindset แบบนี้มากเกินไป
มันจะทำให้คุณ “หลงลืมการใช้ชีวิตกับปัจจุบัน”

ในทางกลับกัน ปรัชญาวะบิ – ซะบิ
จะช่วยย้ำเตือนให้คุณกลับมาอยู่กับปัจจุบัน
ด้วยการมองโลกของความไม่สมบูรณ์
ผ่านยอมรับและปล่อยมันไปตามกระแส
เพื่อที่คุณจะได้ใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ ณ ขณะนั้น

ดั่งที่ Beth Kempt เขียนไว้ใน
Wabi Sabi: Japanese Wisdom for a Perfectly Imperfect Life ว่า

“การยอมรับความไม่สมบูรณ์เป็นสิ่งหนึ่ง
การปล่อยให้คนอื่นเห็นความไม่สมบูรณ์นั้น
ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่นั่นก็มักจะเป็นจุดที่เรา
พบ “จุดร่วม” การเปิดเผยความอ่อนแอ
ความท้าทาย ความฝันที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง
และความสุขแปลกๆ ของตัวเรา
จะช่วยเปิดหน้าต่างเข้าสู่หัวใจของเรา
ผู้คนสามารถเห็นตัวตนที่แท้จริงของเรา
และพวกเขาก็ถูกดึงดูดให้เชื่อมโยงกันในท้ายที่สุด”

[2. Finding the value in simplicity.]
ค้นหาคุณค่าในความเรียบง่าย

วะบิ – ซะบิ เป็นหนึ่งในปรัชญา
ที่หยั่งรากลึกในวัฒนธรรม “ชาของญี่ปุ่น”
ตัวอย่างที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายคือ
ภาพอันโด่งดังของถ้วยชาที่ “ร้าว”
เป็นการยกย่องข้อบกพร่องนั้น แทนที่จะซ่อนไว้

ซึ่งมีชื่อเรียกว่า “คินซึกิ (Kintsugi)”
เป็นศิลปะการซ่อมแซมส่วนที่แตกร้าว
ด้วยทองและยางไม้

ศาสตร์นี้มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 สมัยโชกุนคนที่ 8
แห่งโชกุนตระกูล “อาชิกางะ”
เขาได้ส่งถ้วยชาที่เสียหายไปยังประเทศจีน
เพื่อซ่อมแซม และมันก็ถูกส่งกลับมา
ในสภาพที่มีตัวเย็บเหล็กที่ไม่สวยงาม
จึงทำให้เกิดการคิดค้นหาวิธีที่ดีกว่าอย่าง ‘คินสึงิ’

คิน ในภาษาญี่ปุ่นมีความหมายแปลว่าทอง
สึงิ แปลว่าต่อ เชื่อม

โดยซ่อมแซมภาชนะด้วยการนำสิ่งที่เรียกว่า อุรุชิ (Urushi)
ที่สกัดมาจากยางของต้นอุรุชิของญี่ปุ่น ผสมเข้ากับ ทอง
แล้วนำมาซ่อมแซมภาชนะส่วนที่แตกให้กลับมาใช้งานได้ดังเดิม
และภาชนะชิ้นนี้ก็จะปรากฏ “ความเสียหาย”
ที่กลายเป็นลวดลายสวยงามทิ้งไว้
คุณค่าของความเรียบง่ายและธรรมชาติ
ซึ่งถือเป็นแก่นหลักของวิถีชีวิตแบบวะบิ – ซะบิ

[3. A comfortable home
is more important than a pretty one.]
บ้านที่สะดวกสบาย มีคุณค่ากว่า บ้านที่มีแค่ความสวยงาม

ในหนังสือของ Beth Kempt ได้ให้คำจำกัด
ความที่สมบูรณ์แบบของบ้าน ฉบับวะบิ – ซะบิ ไว้ว่า

“Lived in, loved and never quite finished.”

ด้วยแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียมากมาย
และสังคมปัจจุบันที่กดดันให้เรานำเสนอ
เฉพาะชีวิตด้านที่สมบูรณ์แบบ

“บ้านของเรา” จึงมักกลายเป็นเหยื่อรายแรกๆ
แม้ภายนอก บ้านหลังนี้อาจจะดูดี
แต่แท้จริงแล้ว เจ้าของเหล่านั้นรู้สึกดีด้วยหรือเปล่า?
คำตอบคือ “ไม่เสมอไป”

การพยายามทำให้บ้านของเราดูสมบูรณ์แบบ
เพื่อโพสต์โชว์ลงโซเชียล
ทำให้ลืมสิ่งที่สำคัญที่สุดไป นั่นคือ
เรื่องของความสะดวกสบาย
ในขณะที่เราอยู่อาศัยในบ้านหลังนี้

[4. Slow down.]
ใช้ชีวิตให้ช้าลง

สิ่งนี้สรุปได้อย่างสมบูรณ์แบบในบทประโยคเดียว
จากหนังสือคุณ Beth Kempt กล่าวว่า

“ของภายนอกน้อยลง
คุณจะสัมผัสจิตวิญญาณภายในได้มากขึ้น
เร่งรีบน้อยลง คุณจะจิตใจสงบมากขึ้น
ซับซ้อนน้อยลง คุณจะมีความชัดเจนสูงขึ้น
ตัดสินผู้คนน้อยลง คุณจะให้อภัยมากขึ้น
ต่อต้านน้อยลง คุณจะยืดหยุ่นมากขึ้น
ควบคุมน้อยลง คุณจะโอบรับชะตาของจักรวาลมากขึ้น
ใช้ตรรกะให้น้อยลง คุณจะใช้หัวใจมากขึ้น “

[5. Imperfection is not a compromise.]
ความหมายที่แท้จริงของ “ความไม่สมบูรณ์แบบ”
แบบฉบับ วะบิ-ซะบิ

อยากให้เราเข้าใจความหมายที่แท้จริงของ
“ความไม่สมบูรณ์แบบ” ในปรัชญานี้

“ความไม่สมบูรณ์” ไม่ใช่สิ่งที่ต้องเสียสละบางสิ่ง
เพื่อให้ได้มันมา แต่วะบิ – ซะบิ กำลังบอกเราว่า
ความไม่สมบูรณ์สามารถมอบคุณค่า และชื่นชมได้
โดยเฉลิมฉลองความงามที่พบในสิ่งที่ไม่แน่นอน
ผุกร่อน และไม่สมบูรณ์

วะบิ – ซะบิ สอนให้เรา
“ยอมรับข้อบกพร่องตามธรรมชาติ”
หรือแม้กระทั่งนิสัยแปลกๆ ของเราที่ติดตัวมาแต่เด็ก

[6. Language matters.]
ความสำคัญของภาษา

การยอมรับอย่างแพร่หลายของปรัชญา วะบิ – ซะบิ
มีจุดเริ่มต้นมาจาก “ภาษาที่เรียบง่าย”

มีวลีภาษาญี่ปุ่นหลายวลี ที่หากรวมมันไว้
แล้วใส่คำศัพท์ของคุณลงไป
มันจะพาคุณไปยังสถานที่ที่มีความสุขทันที

ยกตัวอย่างประโยคที่ได้รับรากฐาน
มาจากแนวคิดวะบิ – ซะบิ เช่น

Ichi- go ichi-e: อิชิโกะ อิชิเอะ
แปลคร่าวๆ ได้ว่า “โอกาสเดียว พบกันครั้งเดียว”

การพบเจอครั้งนี้ มีเพียงช่วงเวลานี้เท่านั้น
แต่ละวินาทีที่เกิดขึ้นนั้นคือช่วงเวลาที่มีค่า
แต่ละช่วงเวลานั้นมีความพิเศษเฉพาะตัว
ที่ไม่มีวันจะเกิดขึ้นซ้ำ
เราไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้อีก

ยกตัวอย่างเช่น

การชมดอกซากุระของประเทศญี่ปุ่น
ที่ใน 1 ปีจะมีแค่ครั้งเดียว แม้คนญี่ปุ่นจะรู้ว่า
ความสวยงามนี้จะหายไปอย่างรวดเร็ว
แต่คนญี่ปุ่นก็ต่างเฝ้ารอให้ถึงช่วงเวลาที่ดอกซากุระเบ่งบาน
และเมื่อเบ่งบาน ทุกคนก็จะไปนั่ง “ชมความสวยงามนั้น” ใต้ต้นซากุระ

[ช่วงเริ่มดอกตูม]
ชาวญี่ปุ่นจะเรียกว่า “ไคกะ” (ช่วงเวลาแรกที่พบ
และรู้สึกกับอะไรบางอย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อน
และเริ่มเบ่งบานในใจเรา หรือแรงบันดาลใจ)

[ช่วงดอกเบ่งบาน]
เรียกว่า “มังไก” (ช่วงเวลาซากุระบานเต็มที่
เราควรจะชื่นชมกับช่วงเวลานั้น)

“ตักตวงกับความสุขเท่าที่มี อยู่กับปัจจุบัน
และให้คุณค่ากับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าให้มากที่สุด”

[7. Take in every moment of joy.]
ดื่มด่ำกับทุกช่วงเวลาแห่งความสุข

ใครเป็นคนกำหนดคุณว่า
คุณจำเป็นต้องประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่
เกิดเหตุการณ์ที่พิเศษจริงๆ
ถึงจะสามารถเฉลิมฉลองหรือมีความสุขได้ ?

ความจริงคือ คุณสามารถมีช่วงเวลาแห่งความสุขได้
“ในหลายๆ ช่วงเวลาของทุกวัน”

ทันทีที่คุณตื่นขึ้นมา
และเห็นความสวยงามของดวงอาทิตย์ที่กำลังขึ้น
หรือ การลิ้มรสกาแฟยามเช้า
ความงามมีอยู่ทุกที่ เพียงแค่คุณเต็มใจที่จะเห็นมัน

วะบิ – ซะบิ สอนให้คุณ
“ค้นพบความงดงามในทุกสิ่งที่คุณทำ”
และทุกสิ่งรอบตัวคุณ ไม่ว่ามันจะดูเล็กน้อย
หรือไม่สลักสำคัญเพียงใดก็ตาม

จัดทำและเรียบเรียงโดยทีม The Library
– Wannapaporn S. (เรียบเรียงบทความ)
– Nuchada A. (ออกแบบปก)

อ้างอิงจาก: เว็บไซต์ allabouteve,
โดยผู้เขียน Sukhmani Waraich
#TheLibrary #วะบิซะบิ
#TheArticlewithTheLibrary
#เพราะการเรียนรู้จะทำให้คุณเป็นอิสระ

แชร์บทความนี้

บทความล่าสุด

NLP
ศาสตร์ NLP : สมรรถนะที่คุณควรรู้ เครื่องมือปลอดล็อกสมอง & จิตใต้สำนึก
ในโลกที่เต็มไปด้วยความซับซ้อนและความท้าทายของชีวิตประจำวัน เราต้องการเครื่องมือและเทคนิคที่ช่วยให้เราปรับตัวและเติบโตไปพร้อมๆ...
อ่านต่อ...
Coaching
ศาสตร์แห่งการ Coaching ทักษะของผู้นำในศตวรรษที่ 21
ถ้าพูดถึง Coaching บางคนอาจนึกถึงคนที่เป็น “ไลฟ์โค้ช” ที่พูดคำคม หรือสอนแนวคิดให้คนฟัง แต่จริงๆ...
อ่านต่อ...
3
มัดรวม 5 อาชีพสาย Tech มาแรงสำหรับปี 2024 เงินเดือนสูงลิ่ว แนะนำโดย WeStride
    ทุกวันนี้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้นในชีวิตประจำวันของเรา ทำให้หลายอุตสาหกรรมมีความต้องการผู้ที่มีทักษะเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว...
อ่านต่อ...
บทความที่เกี่ยวข้อง
NLP
ศาสตร์ NLP : สมรรถนะที่คุณควรรู้ เครื่องมือปลอดล็อกสมอง & จิตใต้สำนึก
ในโลกที่เต็มไปด้วยความซับซ้อนและความท้าทายของชีวิตประจำวัน เราต้องการเครื่องมือและเทคนิคที่ช่วยให้เราปรับตัวและเติบโตไปพร้อมๆ...
อ่านต่อ...
14.10
12 นิสัยเล็กๆ ที่ช่วยให้คุณรู้สึกดีกับตัวเองมากขี้น
. 12 นิสัยเล็กๆ ที่ช่วยให้คุณรู้สึกดีกับตัวเองมากขี้น . 1. เก็บที่นอนตอนตื่น 2. ทำสิ่งสำคัญ 20% ที่สร้างผลลัพธ์...
อ่านต่อ...
12 วิธีชนะมิตรและจูงใจคน by Dale Carnegie
12 วิธีชนะมิตรและจูงใจคน by Dale Carnegie
12 วิธีชนะมิตรและจูงใจคน by Dale Carnegie (How to Win Friends and Influence People) 1. หลีกเลี่ยงการโต้แย้ง 2....
อ่านต่อ...