5 ปรัชญาชีวิตจากหนังสือ Man’s Search for Meaning

Man’s Search for Meaning เป็นหนังสือปี 1946  โดยมีผู้เขียน คือ คุณ Viktor Frankl นักจิตแพทย์ และนักจิตบำบัดชาว Austrian หนังสือเล่มนี้อธิบายประสบการณ์ของเขา ในฐานะนักโทษในค่ายกักกันนาซี ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

หนังสือเล่มนี้ มุ่งเน้นไปที่วิธีการที่ทำให้เขาได้รับความหมายในชีวิตแม้ในช่วงเวลาที่สิ้นหวังที่สุด คุณ Frankl อธิบายถึงวิธีการบำบัดทางจิตวิทยา (logotherapy) ซึ่งได้คิดค้นขึ้นมาด้วยตัวเอง เพื่อช่วยให้ผู้คนกลับมามีชีวิตอีกครั้ง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อค้นหาความหมายในชีวิตของแต่ละคน ความหมายของคุณ อาจมาจากงานเล็กๆ หรืออาจเป็นความหมายที่ลึกซึ้งกว่านั้น

ตามที่คุณ Frankl ได้กล่าวไว้ในหนังสือว่า “The way a prisoner imagined the future affected his longevity.” นักโทษที่จินตนาการถึงอนาคต หรือการมีจุดหมายในการใช้ชีวิตจะส่งผลต่ออายุขัยของเขาที่ยืนยาวขึ้น

คุณ Frankl กล่าวว่า “Meaning of Life  หรือการแสวงหาความหมายในชีวิต” เป็นสิ่งที่ทำให้   เขาอยู่รอดมาได้  สิ่งนั้นคือ ‘เขาคิดถึงภรรยาของเขา’ สิ่งนี้ทำให้เขาอดทนต่อความทุกข์ทรมาน ในค่ายกักกันนาซี และฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ  ประคองสติเพื่อรอจนถึงวันที่ถูกปลดปล่อยจากค่าย และสามารถกลับไปหาภรรยาที่เขารักในที่สุด

ดังนั้นวันนี้ เราจะมาเรียนรู้ 5 บทเรียน จากหนังสือเล่มนี้กัน และหวังว่ามันจะจุดประกาย และค้นหา Meaning of Life ของคุณได้

ขออภัยด้วยครับ เนื้อหาในส่วนนี้สำหรับสมาชิกเท่านั้น หากคุณเป็นสมาชิกอยู่แล้วกรุณา เข้าสู่ระบบที่นี่ หรือหากต้องการ สมัครสมาชิกใหม่กดที่นี่

แชร์ไปให้เพื่อนของคุณ
Man’s Search For Meaning 01

หนังสือที่คล้ายกัน