5 วิธี พูดอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ จากหลักปรัชญาสโตอิก “ใช้ความเงียบเป็นเครื่องมืออันทรงพลัง”

หนึ่งในแก่นสำคัญของปรัชญาสโตอิก
คือการสอนให้ผู้คนตระหนักถึงพลังของคำพูด
นั่นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไม?
“คำพูดของเรา” อาจสร้างความเสียหายได้ถ้าเราใช้มันไม่ถูกวิธี

นี่เป็นเหตุผลว่าทำไม Zeno, Marcus Aurelius
, Seneca และ Epictetus
ซึ่งเป็นเหล่านักปรัชญาชาวสโตอิก
จึงได้ย้ำถึงความสำคัญของคำพูด
ที่ต้องไตร่ตรองก่อนกล่าวสิ่งใดออกไป

ดังนั้น เพื่อให้เราได้เรียนรู้วิธีการพูดอย่างถูกวิธี
ในบทความนี้ ทางเราจึงมี 5 วิธีการพูดจากหลักปรัชญาสโตอิกมาฝาก ดังนี้

  1. จงเงียบ และ ฟังอย่างตั้งใจ

“คนเรามีสองหูและหนึ่งปาก
ดังนั้นเราควรฟังให้มากกว่าพูดสองเท่า” —Zeno

 

หากวันนี้ เพื่อนสนิทได้มาหาคุณ เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับปัญหาชีวิต
พวกเขาอธิบายปัญหาให้คุณฟังว่าพวกเขารู้สึกผิดหวังกับมันมากแค่ไหน
แต่ทันทีที่คุณฟัง คุณก็เริ่มวิเคราะห์ปัญหา และแนะนำไปว่าควรไปทำสิ่งนั้น หรือสิ่งนู้น

ซึ่งหากคุณกำลังทำอย่างนี้อยู่ แสดงว่าตลอดเวลาที่ผ่านมา
คุณไม่ได้ตระหนักเลยว่า

“แท้จริงแล้ว พวกเขาอาจไม่อยากได้คำแนะนำจากคุณ
แต่แค่ต้องการให้เรารับฟัง เท่านั้นเอง”

 

ในปี 2014 วารสารตีพิมพ์ใน International Journal of Listening พบว่า
องค์ประกอบที่สำคัญที่สุด สำหรับความพึงพอใจในการสนทนาคือ
‘การฟังอย่างกระตือรือร้น’
โดยมีองค์ประกอบสำคัญอยู่ 3 ประการ ได้แก่

  • ประการที่ 1:  การแสดงความสนใจในข้อความของผู้พูด
    ผ่านการมีส่วนร่วมแบบอวัจนภาษา
    เช่น การพยักหน้าเล็กน้อย และการสบตา
    ซึ่งเป็นเสมือนสัญญาณที่ทำให้ผู้พูดรู้ว่า
    เรากำลังติดตามฟังและสนใจเขาอยู่
  • ประการที่ 2: หลีกเลี่ยงการถอดความจากข้อความของผู้พูด
    เพราะนั่นมักนำไปสู่การตัดสิน
    ซึ่งจริงๆ แล้ว ผู้พูดต้องการแค่ให้คุณรับฟัง

  • ประการที่3:  ขอให้ผู้พูดลงรายละเอียดมากขึ้น
    ซึ่งสิ่งนี้เป็นการแสดงถึง
    การมีส่วนร่วมในสิ่งที่พวกเขาพูด

  1. นับหนึ่งถึงสามก่อน แล้วค่อยตอบ

“Better to trip with the feet than the tongue.” —Zeno
สะดุดด้วยเท้าดีกว่าลิ้น

 

Epictetus ได้แบ่งขั้วการควบคุมออกเป็น 2 ด้าน
ด้านแรกคือ สิ่งที่อยู่ในการควบคุมของเรา
เป็นสิ่งที่เกิดจากการกระทำของเราเอง
เช่น ความคิดเห็น แรงจูงใจ ความปรารถนา รวมทั้งคำพูด

ด้านที่สองคือ สิ่งที่ไม่ได้อยู่ในการควบคุมของเรา
เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดจากการกระทำของเราเอง
เช่น ชื่อเสียง สถานะทางสังคม และสภาพแวดล้อมที่เราเกิดมา

ดังนั้น ครั้งต่อไปที่คุณพบว่าตัวเองอยู่ในสังคม หรือในการสนทนาที่จริงจัง
อย่าลืมลดความเร็วลงก่อนที่คุณจะตอบกลับใครซักคน
หรือหากเข้าสู่การสนทนานอกเรื่อง ให้นับ 1 – 3 ในใจก่อน
การทำเช่นนี้ ก็เพื่อให้เวลาคุณ
ได้ใช้พื้นที่ ‘ไตร่ตรอง’ ถึงสิ่งที่คุณกำลังจะพูด

เพราะบ่อยครั้งที่เราพบว่า ตัวเองตอบกลับคำถามนั้นแทบจะทันทีโดยสัญชาตญาณ แต่คุณต้องยับยั้งแรงกระตุ้นนั้น และฝึกฝนการตระหนักรู้ในตนเองแบบสโตอิก แล้วคุณจะพบว่า

สิ่งที่คุณคิดเกี่ยวกับการพูดนั้น
ส่วนใหญ่ไม่ควรที่จะพูดออกไป

  1. ใช้ความเงียบเพื่อโต้กลับผู้อื่น

บางทีสถานการณ์ที่พบบ่อยที่ทำให้เราสูญเสียความสามารถ
ในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพก็คือ
“ตอนที่เราโต้เถียงกับผู้อื่น”

ในช่วงเวลาที่ตึงเครียด และเต็มไปด้วยอารมณ์รุนแรง แน่นอนว่าเรามีความต้องการที่จะเอาชนะหรือพิสูจน์ว่าคนอื่นคิดผิด ซึ่ง ณ ตอนนั้น เราได้สูญเสียการควบคุมตนเองไปแล้ว

ชาวสโตอิกมักเรียกมันว่า “temporary insanity” หรือความวิกลจริตชั่วคราว
เพราะเราสูญเสียทั้งความสามารถในการให้เหตุผล และความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

เมื่ออารมณ์ของเราเข้าครอบงำ
เมื่อมีคนท้าทายความคิดเห็นของเรา
หรือพูดบางสิ่งที่เราไม่ชอบ
เราจะรู้สึกเหมือนโดนรุกล้ำพื้นที่
และกระโจนออกไปทำบางสิ่ง
เพื่อปกป้องอาณาเขตของตน

 

ดังนั้น ในข้อนี้ ชาวสโตอิกได้สอนว่า
“คำตอบที่ทรงพลังยิ่งกว่าคือความเงียบ”

เมื่อเผชิญกับคนอารมณ์ฉุนเฉียว
ให้คุณหลีกเลี่ยงความโกรธด้วยความนิ่งเงียบ
เหมือนมาทาดอร์ที่หลีกเลี่ยงวัวที่ดุร้าย
และเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม จงตอบสนองอย่างมีไหวพริบ
พูดอย่างมีคารมคมคายต่อหน้าคนที่กำลังตะคอกใส่คุณ
ยิ่งคุณตอบสนองด้วยความนิ่งสงบมากเท่าไหร่
อีกฝ่ายก็จะยิ่งตระหนักถึงข้อผิดพลาดของตนมากเท่านั้น
และมีโอกาสมากขึ้นที่พวกคุณทั้งคู่
จะเดินออกจากสถานการณ์นี้ด้วยมิตรไมตรี

ดั่งสุภาษิตเยอรมันโบราณที่กล่าวว่า
“Die beste Antwort auf Wut ist Stille”
คำตอบที่ดีที่สุดสำหรับความโกรธคือ ความเงียบ

  1. หยุดพูดคุยเรื่องไร้สาระ

แต่จงเอาเวลานั้นไปทำสิ่งที่มีความหมาย

“ความเงียบ ดีกว่าคำพูดที่สูญเปล่า”
เพราะสิ่งที่สำคัญไม่ใช่ปริมาณคำ แต่คือคุณภาพ

  1. ฝึกจินตนาการถึงสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดและเผชิญหน้ากับมัน

“Silence is a lesson learned
through life’s many sufferings”—Seneca

ความเงียบ เป็นบทเรียนที่ได้รับ
จากความทุกข์มากมายในชีวิต

 

ความยากลำบากในชีวิต ส่งผลกระทบต่อบุคคลนั้น
ซึ่งเกี่ยวกับความเงียบใน 2 วิธีที่แตกต่างกัน

อย่างแรกคือ ความกลัวที่จะเปิดปากของตน เพราะกลัวว่าจะพูดผิด
หรือ อย่างที่สองคือ เลือกที่จะเงียบ เพื่อเป็นการประลองปัญญา

ตั้งแต่ปี 2013 มีงานวิจัยหลายชิ้นที่พยายามค้นหาว่า
ความกลัวที่เลวร้ายที่สุดในสังคมคืออะไร? ซึ่งค้นพบว่า

“การพูดในที่สาธารณะ”และ “ความตาย”
ยังคงอยู่ในอันดับต้น ๆ อย่างต่อเนื่อง

ในบางปี การพูดในที่สาธารณะอยู่ในอันดับหนึ่ง
ในขณะที่ความตายครองอันดับสอง

นั่นแสดงว่า “เราอยู่ในสังคมที่ยอมตายดีกว่าจะต้องพูด”

แต่ชาวสโตอิกมีวิธีการที่ยอดเยี่ยม
ในการเอาชนะความกลัวในสิ่งที่ไม่รู้
สิ่งนั้นเรียกว่า Premeditatio malorum
มาจากภาษาลาตินที่แปลว่า “การไตร่ตรองล่วงหน้า” ถึงความชั่วร้าย
และปัญหาที่อาจรออยู่ข้างหน้า

เป็นการฝึกจินตนาการถึงสิ่งที่อาจผิดพลาด หรือถูกพรากไปจากเราได้
ซึ่งมันช่วยให้เราเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในชีวิต
เพราะไม่ใช่ทุกอย่างที่เราจะได้มาดั่งใจ

หากเราสามารถจินตนาการถึงความกลัวที่เลวร้ายที่สุดของเรา
เมื่อมันเกิดขึ้นจริง เราก็มีโอกาสมากกว่าที่จะเอาชนะพวกมันได้
ลองนึกถึงสถานการณ์ที่คุณกลัว ณ ตอนนี้ ดู
คุณจะพบความปวดร้าวที่เกิดขึ้นชั่วขณะ
แน่นอนว่า “มันทั้งน่าอาย และเจ็บปวด”
แต่ในเวลาต่อมา คุณจะเริ่มรู้สึกคุ้นเคยกับมัน

จนท้ายที่สุด คุณจะสามารถก้าวออกจากประสบการณ์เหล่านั้นได้โดยไม่ได้รับบาดเจ็บ
และพัฒนากลายเป็นคุณในเวอร์ชั่นที่แข็งแกร่งขึ้นได้

 

อ้างอิงข้อมูลจาก
-เว็บไซต์ : dailystoic.com

แชร์บทความนี้

บทความล่าสุด

NLP
ศาสตร์ NLP : สมรรถนะที่คุณควรรู้ เครื่องมือปลอดล็อกสมอง & จิตใต้สำนึก
ในโลกที่เต็มไปด้วยความซับซ้อนและความท้าทายของชีวิตประจำวัน เราต้องการเครื่องมือและเทคนิคที่ช่วยให้เราปรับตัวและเติบโตไปพร้อมๆ...
อ่านต่อ...
Coaching
ศาสตร์แห่งการ Coaching ทักษะของผู้นำในศตวรรษที่ 21
ถ้าพูดถึง Coaching บางคนอาจนึกถึงคนที่เป็น “ไลฟ์โค้ช” ที่พูดคำคม หรือสอนแนวคิดให้คนฟัง แต่จริงๆ...
อ่านต่อ...
วะบิซะบิ_wabi sabi
7 บทเรียนจากปรัชญา วะบิ- ซะบิ ความสุขของการยอมรับ "ความไม่สมบูรณ์แบบ"
ในโลกปัจจุบันที่ทุกคนรอบตัวดูสมบูรณ์แบบไปหมด “ยกเว้นตัวเราเอง” พอไถฟีดโซเชียล ก็จะเห็นแต่ทุกคนที่ดูมีความสุข...
อ่านต่อ...
บทความที่เกี่ยวข้อง
NLP
ศาสตร์ NLP : สมรรถนะที่คุณควรรู้ เครื่องมือปลอดล็อกสมอง & จิตใต้สำนึก
ในโลกที่เต็มไปด้วยความซับซ้อนและความท้าทายของชีวิตประจำวัน เราต้องการเครื่องมือและเทคนิคที่ช่วยให้เราปรับตัวและเติบโตไปพร้อมๆ...
อ่านต่อ...
วะบิซะบิ_wabi sabi
7 บทเรียนจากปรัชญา วะบิ- ซะบิ ความสุขของการยอมรับ "ความไม่สมบูรณ์แบบ"
ในโลกปัจจุบันที่ทุกคนรอบตัวดูสมบูรณ์แบบไปหมด “ยกเว้นตัวเราเอง” พอไถฟีดโซเชียล ก็จะเห็นแต่ทุกคนที่ดูมีความสุข...
อ่านต่อ...
12 วิธีชนะมิตรและจูงใจคน by Dale Carnegie
12 วิธีชนะมิตรและจูงใจคน by Dale Carnegie
12 วิธีชนะมิตรและจูงใจคน by Dale Carnegie (How to Win Friends and Influence People) 1. หลีกเลี่ยงการโต้แย้ง 2....
อ่านต่อ...