3 บทเรียน ความเข้มงวดและมีวินัย จะทำให้ท่านเป็นผู้กำหนดโชคชะตา

มีคำหนึ่งที่เชื่อว่าเราเคยได้ยินแทบทุกคน และเป็นเทรนด์ของโลกยุคปัจจุบัน นั่นคือคำว่า productivity

Productivity ถูกให้คำนิยามอย่างเป็นทางการครั้งแรก ในรายงานของสถาบัน EPA ของการประชุมที่กรุงโรม เมื่อปี ค.ศ.1959 โดยระบุว่า

Productivity เป็นเรื่องของกระบวนการคิด และทัศนคติในการค้นหาว่า
“ทำอย่างไรจึงจะสามารถปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ได้อย่างต่อเนื่อง
เป็นความเชื่อมั่นว่ามนุษย์สามารถทำวันนี้
ให้ดีกว่าเมื่อวาน และทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่าวันนี้”

ซึ่งในบทความนี้ ทางเราจะมาพูดถึงหนังสือ Discipline Is Destiny โดยมีแก่นหลักสำคัญคือ การฝึกระเบียบวินัยในโลกสมัยใหม่ โดยการใช้ความอดกลั้นเพื่อบรรลุเป้าหมาย ด้วยการ ‘ก้าวทีละก้าวไปเรื่อยๆ’ เสมือนเส้นตรง 1 เส้น ที่มีองค์ประกอบมาจากจุดเล็กๆ เพียง 1 จุด สุดท้ายเราจะพบว่า แต่ละก้าวที่เราสะสมมา กลายเป็นระยะทางที่ไกล และส่งผลต่อความก้าวหน้าในชีวิตของตัวเอง ทางเราจึงมี 3 บทเรียนสำคัญจากหนังสือ ดังนี้

1.“การรักความสมบูรณ์แบบ แท้จริงเป็นสิ่งอันตราย

มีใครชอบหมกมุ่นอยู่กับ การทำสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ให้มันสมบูรณ์แบบ

จาก 99% ไปเป็น 100% บ้างหรือไม่ ?

หากมี ทางเราอยากจะเล่าเรื่องราว Case study ของบุคคคลหนึ่ง

ในฤดูหนาวปี 1931, มีผู้หญิงคนหนึ่ง เธอมีชื่อว่า มาร์ธา เกรแฮม นักเต้นและนักออกแบบท่าเต้นชาวอเมริกันที่หลายคนมองว่าเป็น “ราชินีของการเต้นรำสมัยใหม่” ซึ่งมีอิทธิพลต่อวงการเต้นเสมือนกับปิกัสโซที่กำลังวาดภาพ แต่สิ่งที่เธอกำลังเผชิญอยู่คือ การจมอยู่กับท่าเต้นรำที่เธอออกแบบอย่างสิ้นหวัง ท่าเต้นนั้นมีชื่อว่า Ceremonials ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากวัฒนธรรมของชาวมายัน และชาวแอซเท็ก

เป็นที่รู้กันของทุกคนว่าเธอเป็นคนที่ชอบความสมบูรณ์แบบ และตอนนี้เธอก็รู้สึกหมดหวังและท้อแท้ เพราะเธอคิดว่ามันยังไม่ดีพอสักที แม้ว่านักเต้นของเธอจะชอบมัน แต่สิ่งที่เธอเห็นก็คือ

สิ่งเหล่านั้นยังดีไม่พอ และมันจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน
สิ่งที่เธอเห็นคือ มันยังไม่สมบูรณ์แบบ
และสิ่งเหล่านี้ ได้กักขังเธอไว้ในคุกแห่งความคิด

เป็นชะตากรรมที่น่าเศร้าของผู้ยิ่งใหญ่ในหลายสาขา ความสำเร็จของพวกเขาสร้างขึ้นจากมาตรฐานที่สูงอย่างไม่น่าเชื่อ แต่สิ่งนี้ก็ถือว่าอันตรายเช่นกัน เพราะมันขัดขวางให้พวกเขาไม่รู้สึกเพลิดเพลินกับสิ่งที่ได้รับ และมาตรฐานที่สูงขึ้นเรื่อยๆ นี้ ทำให้สิ่งที่พวกเขาทำในครั้งถัดๆ ไป จะต้องสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้นไปอีก จนสุดท้ายแล้วพวกเขาก็ไม่สามารถตอบสนองต่อความสมบูรณ์แบบดั่งที่คิดไว้ได้

สำหรับใครที่มีนิสัย Perfectionism
คุณจะต้องค่อยๆ แก้ไข ปรับตัวไปเรื่อยๆ
ต้องหยุดตัวเองให้ได้
และเรียนรู้ที่จะพูดว่า “ในที่สุดก็เสร็จแล้ว”

 

2.“ปรัชญาสโตอิก”

Marcus Aurelius ผู้ปกครองในฐานะจักรพรรดิแห่งอาณาจักรโรมัน มีอำนาจเด็ดขาดเหนือชีวิตและความตายของทุกคน ซึ่งที่ผ่านมาจักรพรรดิโรมันเกือบทั้งหมด “ใช้ชีวิตอย่างอื้อฉาว ปรนเปรอความโลภ และสนองตัณหา” แต่ Marcus Aurelius ถือเป็นข้อยกเว้น ที่พิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่า

power didn’t corrupt.”

อำนาจไม่ได้ทุจริตเสมอไป

Marcus Aurelius เป็นตัวอย่างหนึ่งของผู้ปกครองที่แท้จริง ที่ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ประชาชน

ว่ากันว่าความยิ่งใหญ่ที่แท้จริงของ Marcus Aurelius คือ

“ความเข้มงวดของเขามุ่งเป้าไปที่ตัวเขาเองเท่านั้น”

มนุษย์ก็คือมนุษย์ เขาเข้าใจว่ามันไม่สมบูรณ์แบบ เขาพบวิธีทำงานกับคนที่มีข้อบกพร่อง ทำให้พวกเขารับใช้เพื่อประโยชน์ของจักรวรรดิ ค้นหาคุณธรรมที่เขายกย่อง และยอมรับความชั่วร้ายของพวกเขา ซึ่งเขารู้ว่าสิ่งเหล่านั้นไม่ได้อยู่ในการควบคุมของเขา

แม้ว่ามาร์คัสจะมีแนวคิดและลักษณะนิสัยที่ดี แต่เขารู้ว่านั่นเป็นสิ่งที่ควรปรับปรุง และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

เพราะ “วินาทีที่เราหยุดพยายามทำให้ดีขึ้น
คือช่วงเวลาที่เราเริ่มแย่ลงเรื่อยๆ”

 

3.“อดทนต่อผู้อื่น เข้มงวดกับตัวเอง”

Search others for their virtues, thyself for thy vices.

มองหาข้อดีของคนอื่น และมองหาข้อบกพร่องของคุณเอง

คนเดียวที่คุณจะต้องลำบากอย่างแท้จริงก็คือ ตัวคุณเอง คุณต้องอาศัยการควบคุมตัวเองทุกจุด ไม่ใช่เพราะมันยากที่จะบังคับตัวเอง แต่เพราะมันยากมากที่จะปล่อยผ่านคนอื่นจากสิ่งที่คุณไม่เคยอนุญาตให้กับตัวเอง

จงปล่อยให้พวกเขาทำในสิ่งที่คุณรู้ว่ามันไม่ดีสำหรับพวกเขา
ปล่อยให้พวกเขาขี้เกียจ เมื่อคุณเห็นอะไรมากมายในตัวพวกเขา
“แต่คุณต้องทำ”
เพราะชีวิตของพวกเขา ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของคุณ

เพราะคุณจะแผดเผาตัวเอง หากคุณไม่สามารถไปยังสถานที่ที่คุณต้องการได้ และอย่าลืมขอบคุณสำหรับความพยายามของพวกเขาอยู่เสมอ

“Forgive and Forget
ไม่ใช่ทุกคนที่ได้รับการฝึกฝนอย่างที่คุณมี
ไม่ใช่ทุกคนที่มีความรู้ที่คุณมี
ไม่ใช่ทุกคนที่มีความมุ่งมั่นอย่างที่คุณมี
นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมคุณถึงต้องอดทน
ใจกว้างกับผู้คน รวมทั้งสิ่งอื่นใดที่ไม่ยุติธรรม

Marcus Aurelius ได้เรียนรู้ว่า

“แค่พยายามหลีกหนีความผิดของตัวเอง
ก็ยากพอที่จะทำให้เราไม่ว่างไปตลอดชีวิตแล้ว”

พวกเราไม่มีใครสมบูรณ์แบบขนาดที่เราจะใช้เวลามากมาย
ในการ “ตั้งคำถามกับความกล้าของคนอื่น”
ตำหนินิสัยของพวกเขา
และพยายามผลักดันพวกเขาให้ไปถึงศักยภาพสูงสุด
การเข้าใจสิ่งเหล่านี้ ไม่เพียงทำให้เราแข็งกร้าวน้อยลง
แต่ยังทำให้เราเข้าใจมากขึ้นด้วย

จงระลึกเสมอว่า คนอื่นมีสิทธิในการเลือกวิถีชีวิตที่แตกต่างจากเรา ดังนั้น จงมองข้ามมันไป และโฟกัสที่การเดินทางของตน หรือก็คือ การเดินทางเพื่อตระหนักรู้ในตนเอง ไม่พยายามที่จะทำให้ทุกคนเป็นเหมือนเรา

เราควรจะมีน้ำใจ และเต็มใจที่จะมองอีกมุมหนึ่ง – ในเส้นทางการเดินทางของเราเองมันอาจเป็นการเดินทางที่เข้มงวดและยากลำบาก แต่เราก็ต้องเข้าใจว่าคนอื่นก็อยู่ในเส้นทางของตัวเองเหมือนกัน พวกเขาทำทุกอย่างที่เขาทำได้

“นี่ไม่ใช่ที่ที่เราจะตัดสิน
แต่นี่คือที่ที่เราจะเชียร์พวกเขา
และยอมรับพวกเขาต่างหาก”

 

 

อ้างอิงข้อมูลจาก
เว็บไซต์ matthewvere.com

แชร์บทความนี้

บทความล่าสุด

NLP
ศาสตร์ NLP : สมรรถนะที่คุณควรรู้ เครื่องมือปลอดล็อกสมอง & จิตใต้สำนึก
ในโลกที่เต็มไปด้วยความซับซ้อนและความท้าทายของชีวิตประจำวัน เราต้องการเครื่องมือและเทคนิคที่ช่วยให้เราปรับตัวและเติบโตไปพร้อมๆ...
อ่านต่อ...
Coaching
ศาสตร์แห่งการ Coaching ทักษะของผู้นำในศตวรรษที่ 21
ถ้าพูดถึง Coaching บางคนอาจนึกถึงคนที่เป็น “ไลฟ์โค้ช” ที่พูดคำคม หรือสอนแนวคิดให้คนฟัง แต่จริงๆ...
อ่านต่อ...
วะบิซะบิ_wabi sabi
7 บทเรียนจากปรัชญา วะบิ- ซะบิ ความสุขของการยอมรับ "ความไม่สมบูรณ์แบบ"
ในโลกปัจจุบันที่ทุกคนรอบตัวดูสมบูรณ์แบบไปหมด “ยกเว้นตัวเราเอง” พอไถฟีดโซเชียล ก็จะเห็นแต่ทุกคนที่ดูมีความสุข...
อ่านต่อ...
บทความที่เกี่ยวข้อง
NLP
ศาสตร์ NLP : สมรรถนะที่คุณควรรู้ เครื่องมือปลอดล็อกสมอง & จิตใต้สำนึก
ในโลกที่เต็มไปด้วยความซับซ้อนและความท้าทายของชีวิตประจำวัน เราต้องการเครื่องมือและเทคนิคที่ช่วยให้เราปรับตัวและเติบโตไปพร้อมๆ...
อ่านต่อ...
วะบิซะบิ_wabi sabi
7 บทเรียนจากปรัชญา วะบิ- ซะบิ ความสุขของการยอมรับ "ความไม่สมบูรณ์แบบ"
ในโลกปัจจุบันที่ทุกคนรอบตัวดูสมบูรณ์แบบไปหมด “ยกเว้นตัวเราเอง” พอไถฟีดโซเชียล ก็จะเห็นแต่ทุกคนที่ดูมีความสุข...
อ่านต่อ...
12 วิธีชนะมิตรและจูงใจคน by Dale Carnegie
12 วิธีชนะมิตรและจูงใจคน by Dale Carnegie
12 วิธีชนะมิตรและจูงใจคน by Dale Carnegie (How to Win Friends and Influence People) 1. หลีกเลี่ยงการโต้แย้ง 2....
อ่านต่อ...