“คุณคิดว่า ตัวคุณในอายุ 70, 80 หรือ 100 จะคิดยังไงกับตัวคุณในตอนนี้?”
เขาจะมองกลับมาหาคุณด้วยความโกรธเคืองหรือเปล่า?
หนังสือ The 100-Year Life มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องพัฒนาการด้านการแพทย์และเทคโนโลยี ทำให้คนมีโอกาสมีชีวิตยืนยาวมากขึ้นถึง 100 ปี และสิ่งที่ตามมาคือ เมื่อเราอายุขัยมากขึ้น
“การเกษียณตอนอายุ 60 ยังจำเป็นอยู่หรือเปล่า?”
แล้วเราควรพัฒนาทักษะอะไรเพิ่มบ้าง?
- พัฒนาการทางด้านการแพทย์ทำให้มนุษย์มีอายุขัยเฉลี่ยถึง 100 ปี
“ตั้งแต่ปี 1840 เป็นต้นมา ในทุกๆ ทศวรรษ
อายุขัยของประชากรบนโลกจะเพิ่มขึ้น 2-3 ปี”
มนุษย์ในยุคอดีตอายุเฉลี่ยสั้นกว่าปัจจุบันมาก สาเหตุหลักมาจากเรื่องโภชนาการอาหารและโรคติดเชื้อ เช่น โรคโปลิโอ (โรคติดต่อจากเชื้อไวรัส) โดยผู้ที่ติดเชื้อ จะถูกไวรัสเข้าไปทำลายระบบประสาท ส่งผลให้เกิดภาวะอัมพาต พิการ หายใจลำบาก และอาจเสียชีวิตในที่สุด
ซึ่งปัจจุบันโรคนี้ได้รับการกำจัดแทบทุกประเทศทั่วโลก ผ่านการฉีดวัคซีนตั้งแต่วัยเด็กๆ แล้ว ด้วยบริการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ทำให้ทารกที่เกิดหลังปี 2014 มีโอกาสประมาณ 50% ที่จะมีอายุมากถึง 100 ปี
ดังนั้น เมื่อเรามีอายุขัย 100 ปี
การนิยามสำหรับสิ่งต่างๆ จะต้องเปลี่ยนไป เช่น คำว่า ‘วัยกลางคน’ เราควรใช้ตอนอายุ 50 ปีแทน
- ทบทวนเรื่องการเงินให้ดี
การเกษียณอายุ 60 ปี ‘อาจไม่เหมาะสมอีกต่อไป’ ในอนาคตเราอาจจะต้องทำงานไปจนถึงอายุ 70 หรือ 80 ปี เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้จ่าย ดังนั้นเราต้องกลับมาวางแผนการเงินในอนาคตให้ดี และสิ่งที่สำคัญคือ ต้องคิดในระยะยาว และพร้อมปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น
- อาชีพเดิมที่หายไป Vs อาชีพใหม่ที่เกิดขึ้น
เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า
ทำให้งานบางอย่างอาจจะถูกแทนที่ด้วย AI
ดังนั้น การไม่หยุดเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่างๆ อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เราพร้อมรับมือกับอนาคตได้
นอกจากนี้ เทรนด์งานที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นและ AI ทำไม่ได้ ก็คือ “งานที่ต้องใช้ความสามารถทางอารมณ์” ทักษะด้านการแก้ไขปัญหา และทักษะการทำงานเป็นทีม
- ไลฟ์สไตล์ สุขภาพ และการตระหนักรู้ในตนเองจะมีความสำคัญมากขึ้น
การที่เราอายุขัยขยับไปเป็น 100 ปี ทำให้เราต้องหันมาดูแลตัวเองมากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็น การออกกำลังกายเป็นประจำ การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และรักษาจิตใจให้อยู่ในเชิงบวก
นอกจากนี้ การตระหนักรู้ในตนเอง ถือเป็นสิ่งสำคัญในปัจจุบัน เราจำเป็นต้องมีความเข้าใจที่ชัดเจนในจุดเด่นและจุดด้อยของตนเองเพื่อให้ทันต่อตลาดแรงงานที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
- ชีวิต 3 Stage ที่ล้าสมัยไปแล้ว
การแบ่ง Stage ว่า: “วัยเรียน วัยทำงาน และวัยเกษียณ” อาจจะไม่เหมาะสมอีกต่อไป แต่เราต้องเลือก “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” แทน
“การตัดสินใจของคุณในช่วงต้นของชีวิต
จะมีผลต่อเวลาที่เหลือในชีวิตของคุณ”“การเดินหน้าตามฝูงไม่ใช่วิธีการที่จะสำเร็จ
เราแต่ละคนต้องไตร่ตรองว่า ตัวเราเองเป็นใคร?
จะสร้างชีวิต สะท้อนตัวตนและคุณค่าของเราได้อย่างไร?”
ลดความสำคัญเรื่องการทำงาน
แต่จงใช้ชีวิตที่ยาวนานมากขึ้นนี้ “ลองในสิ่งที่อยากทำ”
เก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่หลากหลาย
และออกไปสำรวจดินแดนใหม่ๆ”
- รู้ว่าตัวเองเป็นใครและต้องการอะไร
“ครั้งสุดท้ายที่คุณนั่งลง และครุ่นคิดว่าคุณเป็นใคร
และต้องการอะไรจากชีวิตครั้งสุดท้ายคือเมื่อไหร่?”
อาจดูเป็นคำถามที่แปลก แต่ความจริงก็คือ คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจที่จะ “เข้าใจตัวเองเท่าไหร่” เมื่อเทียบกับเพื่อนฝูง หรือคนรัก
มันน่าแปลกใจว่า ขณะที่โลกพัฒนาจนทำให้เราใช้ชีวิตง่ายขึ้นมาก
แต่มันก็ทำให้สภาวะมนุษย์ซับซ้อนมากขึ้นเช่นกัน
มนุษย์ในยุคก่อนการปฏิวัติเกษตรกรรมมีแผนชีวิตที่ชัดเจนและเรียบง่าย เพียงแค่
- พยายามเอาชีวิตรอดและสืบพันธุ์
- สร้างและรักษาที่อยู่
- รวบรวมและล่าอาหาร
- ป้องกันและหลีกเลี่ยงภัยคุกคาม
แม้ว่ามันอาจจะฟังดูโบราณ แต่ก็มีความสง่างามในความเรียบง่าย ไม่มีความกังวลเกี่ยวกับการตัดสินใจว่าจะต้องทำอะไรกับชีวิตตัวเอง
- ไม่ต้องเจอความรู้สึกที่ว่า “สิ่งที่ทุ่มเทไปสูญเปล่า”
- ไม่ต้องเจอภาวะ Burnout
- ไม่ต้องค้นหาความหมายของชีวิต
แต่แน่นอนว่า สิ่งที่ต้องแลกก็คือ การเอาชีวิตรอดที่แสนยากเย็น
ชีวิตที่ทั้งสั้นและอันตราย
วันนี้เรามีความปลอดภัยกว่าอดีต แต่เรากลับหลงทางในชีวิต หลายคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่า “ความปรารถนาของพวกเขาคืออะไร?”
ในยุคปัจจุบันที่การศึกษา
- ไม่ได้สอนพวกเขาถึงวิธีจัดการความมั่งคั่ง
- ไม่ได้สอนพวกเขาถึงการเลือกสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ
- ไม่ได้เตรียมพวกเขาให้เผชิญกับโลกภายนอก
- ไม่ได้แนะแนวอาชีพต่างๆ ที่มากมายและแตกต่างกันไป
จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมในอายุ 100 ปีนี้ คุณจะต้องสำรวจและทดลองให้มาก “ลองการใช้เวลาไปกับการท่องเที่ยว” และสัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ นี่ไม่ใช่เรื่องที่ขาดความรับผิดชอบ แต่เป็นเรื่องสำคัญต่อตัวคุณทั้งชีวิต
เรียบเรียงโดย The Library
Wannapaporn Angsurungseepan (โส่ย)