เมื่อหลายศตวรรษก่อน อเล็กซานเดอร์มหาราช ตัดสินใจไปเยี่ยมนักปรัชญาผู้หนึ่งที่มีนามว่า Diogenes (ไดโอจีเนส) ที่เมือง Corinth
ณ เวลานั้น นักปรัชญาและรัฐบุรุษหลายคน กระตือรือร้นที่จะไปพบกษัตริย์กรีกโบราณแห่งซิเนียท่านนี้ แต่ไดโอจีเนสไม่ได้แสดงความสนใจในตัวเขาเลยแม้แต่น้อย
เขากลับพักผ่อนในถังไม้ของตน
และล้อมรอบด้วยเพื่อนที่ดีที่สุด ซึ่งก็คือ “สุนัขจรจัด”
บางที “ความเฉยเมยของเขา” อาจเป็นเหตุผลว่า ทำไมอเล็กซานเดอร์ท่านนี้จึงได้สนใจนักปรัชญาคนนี้หนักหนา
อเล็กซานเดอร์ได้ออกตามหาไดโอจีเนส
จนพบเขาที่กำลังนอนอาบแดดอยู่
อเล็กซานเดอร์ผู้เป็นกษัตริย์จึงกล่าวทักทายเขา และถามว่า
“ท่านต้องการอะไรจากเราหรือไม่?”
ไดโอจีเนสจึงตอบกลับว่า
“ต้องการสิ ข้าต้องการให้ท่านหลบหน่อยได้ไหม
เพราะตอนนี้ท่านกำลังยืนบดบังแสงดวงอาทิตย์ของข้าอยู่”
อเล็กซานเดอร์มหาราช รู้สึกประทับใจในความเฉยเมยของไดโอจีเนสอย่างมาก จึงกล่าวกับผู้ติดตามของเขาว่า
“พูดตามจริงแล้ว หากเราไม่ใช่อเล็กซานเดอร์
เราอยากเป็นไดโอจีเนส”
ด้วยการไม่สนใจสถานะ หรืออำนาจของอเล็กซานเดอร์ นั่นทำให้ไดโอจีเนสสามารถรักษาความเป็นอิสระ และความถูกต้องของตนได้ ท่าทางของเขาไม่เปลี่ยนไปเลยแม้แต่น้อยเมื่ออยู่ต่อหน้าราชาผู้ยิ่งใหญ่ ไม่เหมือนคนอื่นๆ ที่เข้ามานบน้อมเพราะเกรงกลัว หรือต้องการผลประโยชน์
ดังนั้น แม้อเล็กซานเดอร์มหาราช
จะเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีอำนาจมากที่สุดในโลก
แต่ ณ เวลานั้น
เขาไม่อาจมีอำนาจเหนือไดโอจีเนสได้
นั่นเป็นเพราะ Indifference หรือพลังแห่งความเฉยเมย
ไม่มีใครส่งผลกระทบต่อไดโอจีเนสได้ แม้ความเฉยเมยอาจถูกมองว่าเป็นลักษณะเชิงลบ เกี่ยวข้องกับการขาดความเห็นอกเห็นใจ หรือความห่วงใยผู้อื่น อย่างไรก็ตามดังตัวอย่างในนิทานเรื่องนี้ ได้แสดงให้เห็นว่า “ความเฉยเมยเป็นเครื่องมืออันทรงพลัง” โดยเฉพาะการเอาแนวคิดนี้มาใช้ในสังคมปัจจุบันที่คนส่วนใหญ่มักจะเป็น “แกะขาว” พวกเขาปฏิบัติตามฝูงสัตว์ ประพฤติตนตามการกระทำของคนอื่น และดำเนินชีวิตตามแผนที่มีคนอื่นจัดเตรียมไว้ให้แล้ว ซึ่งนั่นไม่ผิดหากเราพอใจในจุดนั้น
แต่ถ้าเราต้องการเป็นอิสระ ต้องการไล่ตามความฝัน
เราจำเป็นต้องเป็น “แกะดำ” และยืดหยัดในความเชื่อ
แม้นั่นจะหมายถึงการให้เราวิ่งทวนกระแสก็ตาม
#ขอให้วันนี้เป็นวันที่ดีของคุณ
#TheLibrary
#TheLibraryLearn
#TheArticleWithTheLibrary
#selfdevelopment