5 วิธี พูดอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ จากหลักปรัชญาสโตอิก “ใช้ความเงียบเป็นเครื่องมืออันทรงพลัง”

หนึ่งในแก่นสำคัญของปรัชญาสโตอิก
คือการสอนให้ผู้คนตระหนักถึงพลังของคำพูด
นั่นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไม?
“คำพูดของเรา” อาจสร้างความเสียหายได้ถ้าเราใช้มันไม่ถูกวิธี

นี่เป็นเหตุผลว่าทำไม Zeno, Marcus Aurelius
, Seneca และ Epictetus
ซึ่งเป็นเหล่านักปรัชญาชาวสโตอิก
จึงได้ย้ำถึงความสำคัญของคำพูด
ที่ต้องไตร่ตรองก่อนกล่าวสิ่งใดออกไป

ดังนั้น เพื่อให้เราได้เรียนรู้วิธีการพูดอย่างถูกวิธี
ในบทความนี้ ทางเราจึงมี 5 วิธีการพูดจากหลักปรัชญาสโตอิกมาฝาก ดังนี้

  1. จงเงียบ และ ฟังอย่างตั้งใจ

“คนเรามีสองหูและหนึ่งปาก
ดังนั้นเราควรฟังให้มากกว่าพูดสองเท่า” —Zeno

 

หากวันนี้ เพื่อนสนิทได้มาหาคุณ เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับปัญหาชีวิต
พวกเขาอธิบายปัญหาให้คุณฟังว่าพวกเขารู้สึกผิดหวังกับมันมากแค่ไหน
แต่ทันทีที่คุณฟัง คุณก็เริ่มวิเคราะห์ปัญหา และแนะนำไปว่าควรไปทำสิ่งนั้น หรือสิ่งนู้น

ซึ่งหากคุณกำลังทำอย่างนี้อยู่ แสดงว่าตลอดเวลาที่ผ่านมา
คุณไม่ได้ตระหนักเลยว่า

“แท้จริงแล้ว พวกเขาอาจไม่อยากได้คำแนะนำจากคุณ
แต่แค่ต้องการให้เรารับฟัง เท่านั้นเอง”

 

ในปี 2014 วารสารตีพิมพ์ใน International Journal of Listening พบว่า
องค์ประกอบที่สำคัญที่สุด สำหรับความพึงพอใจในการสนทนาคือ
‘การฟังอย่างกระตือรือร้น’
โดยมีองค์ประกอบสำคัญอยู่ 3 ประการ ได้แก่

  • ประการที่ 1:  การแสดงความสนใจในข้อความของผู้พูด
    ผ่านการมีส่วนร่วมแบบอวัจนภาษา
    เช่น การพยักหน้าเล็กน้อย และการสบตา
    ซึ่งเป็นเสมือนสัญญาณที่ทำให้ผู้พูดรู้ว่า
    เรากำลังติดตามฟังและสนใจเขาอยู่
  • ประการที่ 2: หลีกเลี่ยงการถอดความจากข้อความของผู้พูด
    เพราะนั่นมักนำไปสู่การตัดสิน
    ซึ่งจริงๆ แล้ว ผู้พูดต้องการแค่ให้คุณรับฟัง

  • ประการที่3:  ขอให้ผู้พูดลงรายละเอียดมากขึ้น
    ซึ่งสิ่งนี้เป็นการแสดงถึง
    การมีส่วนร่วมในสิ่งที่พวกเขาพูด

  1. นับหนึ่งถึงสามก่อน แล้วค่อยตอบ

“Better to trip with the feet than the tongue.” —Zeno
สะดุดด้วยเท้าดีกว่าลิ้น

 

Epictetus ได้แบ่งขั้วการควบคุมออกเป็น 2 ด้าน
ด้านแรกคือ สิ่งที่อยู่ในการควบคุมของเรา
เป็นสิ่งที่เกิดจากการกระทำของเราเอง
เช่น ความคิดเห็น แรงจูงใจ ความปรารถนา รวมทั้งคำพูด

ด้านที่สองคือ สิ่งที่ไม่ได้อยู่ในการควบคุมของเรา
เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดจากการกระทำของเราเอง
เช่น ชื่อเสียง สถานะทางสังคม และสภาพแวดล้อมที่เราเกิดมา

ดังนั้น ครั้งต่อไปที่คุณพบว่าตัวเองอยู่ในสังคม หรือในการสนทนาที่จริงจัง
อย่าลืมลดความเร็วลงก่อนที่คุณจะตอบกลับใครซักคน
หรือหากเข้าสู่การสนทนานอกเรื่อง ให้นับ 1 – 3 ในใจก่อน
การทำเช่นนี้ ก็เพื่อให้เวลาคุณ
ได้ใช้พื้นที่ ‘ไตร่ตรอง’ ถึงสิ่งที่คุณกำลังจะพูด

เพราะบ่อยครั้งที่เราพบว่า ตัวเองตอบกลับคำถามนั้นแทบจะทันทีโดยสัญชาตญาณ แต่คุณต้องยับยั้งแรงกระตุ้นนั้น และฝึกฝนการตระหนักรู้ในตนเองแบบสโตอิก แล้วคุณจะพบว่า

สิ่งที่คุณคิดเกี่ยวกับการพูดนั้น
ส่วนใหญ่ไม่ควรที่จะพูดออกไป

  1. ใช้ความเงียบเพื่อโต้กลับผู้อื่น

บางทีสถานการณ์ที่พบบ่อยที่ทำให้เราสูญเสียความสามารถ
ในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพก็คือ
“ตอนที่เราโต้เถียงกับผู้อื่น”

ในช่วงเวลาที่ตึงเครียด และเต็มไปด้วยอารมณ์รุนแรง แน่นอนว่าเรามีความต้องการที่จะเอาชนะหรือพิสูจน์ว่าคนอื่นคิดผิด ซึ่ง ณ ตอนนั้น เราได้สูญเสียการควบคุมตนเองไปแล้ว

ชาวสโตอิกมักเรียกมันว่า “temporary insanity” หรือความวิกลจริตชั่วคราว
เพราะเราสูญเสียทั้งความสามารถในการให้เหตุผล และความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

เมื่ออารมณ์ของเราเข้าครอบงำ
เมื่อมีคนท้าทายความคิดเห็นของเรา
หรือพูดบางสิ่งที่เราไม่ชอบ
เราจะรู้สึกเหมือนโดนรุกล้ำพื้นที่
และกระโจนออกไปทำบางสิ่ง
เพื่อปกป้องอาณาเขตของตน

 

ดังนั้น ในข้อนี้ ชาวสโตอิกได้สอนว่า
“คำตอบที่ทรงพลังยิ่งกว่าคือความเงียบ”

เมื่อเผชิญกับคนอารมณ์ฉุนเฉียว
ให้คุณหลีกเลี่ยงความโกรธด้วยความนิ่งเงียบ
เหมือนมาทาดอร์ที่หลีกเลี่ยงวัวที่ดุร้าย
และเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม จงตอบสนองอย่างมีไหวพริบ
พูดอย่างมีคารมคมคายต่อหน้าคนที่กำลังตะคอกใส่คุณ
ยิ่งคุณตอบสนองด้วยความนิ่งสงบมากเท่าไหร่
อีกฝ่ายก็จะยิ่งตระหนักถึงข้อผิดพลาดของตนมากเท่านั้น
และมีโอกาสมากขึ้นที่พวกคุณทั้งคู่
จะเดินออกจากสถานการณ์นี้ด้วยมิตรไมตรี

ดั่งสุภาษิตเยอรมันโบราณที่กล่าวว่า
“Die beste Antwort auf Wut ist Stille”
คำตอบที่ดีที่สุดสำหรับความโกรธคือ ความเงียบ

  1. หยุดพูดคุยเรื่องไร้สาระ

แต่จงเอาเวลานั้นไปทำสิ่งที่มีความหมาย

“ความเงียบ ดีกว่าคำพูดที่สูญเปล่า”
เพราะสิ่งที่สำคัญไม่ใช่ปริมาณคำ แต่คือคุณภาพ

  1. ฝึกจินตนาการถึงสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดและเผชิญหน้ากับมัน

“Silence is a lesson learned
through life’s many sufferings”—Seneca

ความเงียบ เป็นบทเรียนที่ได้รับ
จากความทุกข์มากมายในชีวิต

 

ความยากลำบากในชีวิต ส่งผลกระทบต่อบุคคลนั้น
ซึ่งเกี่ยวกับความเงียบใน 2 วิธีที่แตกต่างกัน

อย่างแรกคือ ความกลัวที่จะเปิดปากของตน เพราะกลัวว่าจะพูดผิด
หรือ อย่างที่สองคือ เลือกที่จะเงียบ เพื่อเป็นการประลองปัญญา

ตั้งแต่ปี 2013 มีงานวิจัยหลายชิ้นที่พยายามค้นหาว่า
ความกลัวที่เลวร้ายที่สุดในสังคมคืออะไร? ซึ่งค้นพบว่า

“การพูดในที่สาธารณะ”และ “ความตาย”
ยังคงอยู่ในอันดับต้น ๆ อย่างต่อเนื่อง

ในบางปี การพูดในที่สาธารณะอยู่ในอันดับหนึ่ง
ในขณะที่ความตายครองอันดับสอง

นั่นแสดงว่า “เราอยู่ในสังคมที่ยอมตายดีกว่าจะต้องพูด”

แต่ชาวสโตอิกมีวิธีการที่ยอดเยี่ยม
ในการเอาชนะความกลัวในสิ่งที่ไม่รู้
สิ่งนั้นเรียกว่า Premeditatio malorum
มาจากภาษาลาตินที่แปลว่า “การไตร่ตรองล่วงหน้า” ถึงความชั่วร้าย
และปัญหาที่อาจรออยู่ข้างหน้า

เป็นการฝึกจินตนาการถึงสิ่งที่อาจผิดพลาด หรือถูกพรากไปจากเราได้
ซึ่งมันช่วยให้เราเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในชีวิต
เพราะไม่ใช่ทุกอย่างที่เราจะได้มาดั่งใจ

หากเราสามารถจินตนาการถึงความกลัวที่เลวร้ายที่สุดของเรา
เมื่อมันเกิดขึ้นจริง เราก็มีโอกาสมากกว่าที่จะเอาชนะพวกมันได้
ลองนึกถึงสถานการณ์ที่คุณกลัว ณ ตอนนี้ ดู
คุณจะพบความปวดร้าวที่เกิดขึ้นชั่วขณะ
แน่นอนว่า “มันทั้งน่าอาย และเจ็บปวด”
แต่ในเวลาต่อมา คุณจะเริ่มรู้สึกคุ้นเคยกับมัน

จนท้ายที่สุด คุณจะสามารถก้าวออกจากประสบการณ์เหล่านั้นได้โดยไม่ได้รับบาดเจ็บ
และพัฒนากลายเป็นคุณในเวอร์ชั่นที่แข็งแกร่งขึ้นได้

 

อ้างอิงข้อมูลจาก
-เว็บไซต์ : dailystoic.com

แชร์บทความนี้

บทความล่าสุด

NLP
ศาสตร์ NLP : สมรรถนะที่คุณควรรู้ เครื่องมือปลอดล็อกสมอง & จิตใต้สำนึก
ในโลกที่เต็มไปด้วยความซับซ้อนและความท้าทายของชีวิตประจำวัน เราต้องการเครื่องมือและเทคนิคที่ช่วยให้เราปรับตัวและเติบโตไปพร้อมๆ...
อ่านต่อ...
Coaching
ศาสตร์แห่งการ Coaching ทักษะของผู้นำในศตวรรษที่ 21
ถ้าพูดถึง Coaching บางคนอาจนึกถึงคนที่เป็น “ไลฟ์โค้ช” ที่พูดคำคม หรือสอนแนวคิดให้คนฟัง แต่จริงๆ...
อ่านต่อ...
_wabi sabi
7 บทเรียนจากปรัชญา วะบิ- ซะบิ ความสุขของการยอมรับ "ความไม่สมบูรณ์แบบ"
ในโลกปัจจุบันที่ทุกคนรอบตัวดูสมบูรณ์แบบไปหมด “ยกเว้นตัวเราเอง” พอไถฟีดโซเชียล ก็จะเห็นแต่ทุกคนที่ดูมีความสุข...
อ่านต่อ...
บทความที่เกี่ยวข้อง
NLP
ศาสตร์ NLP : สมรรถนะที่คุณควรรู้ เครื่องมือปลอดล็อกสมอง & จิตใต้สำนึก
ในโลกที่เต็มไปด้วยความซับซ้อนและความท้าทายของชีวิตประจำวัน เราต้องการเครื่องมือและเทคนิคที่ช่วยให้เราปรับตัวและเติบโตไปพร้อมๆ...
อ่านต่อ...
_wabi sabi
7 บทเรียนจากปรัชญา วะบิ- ซะบิ ความสุขของการยอมรับ "ความไม่สมบูรณ์แบบ"
ในโลกปัจจุบันที่ทุกคนรอบตัวดูสมบูรณ์แบบไปหมด “ยกเว้นตัวเราเอง” พอไถฟีดโซเชียล ก็จะเห็นแต่ทุกคนที่ดูมีความสุข...
อ่านต่อ...
14.10
12 นิสัยเล็กๆ ที่ช่วยให้คุณรู้สึกดีกับตัวเองมากขี้น
. 12 นิสัยเล็กๆ ที่ช่วยให้คุณรู้สึกดีกับตัวเองมากขี้น . 1. เก็บที่นอนตอนตื่น 2. ทำสิ่งสำคัญ 20% ที่สร้างผลลัพธ์...
อ่านต่อ...