เสาหลัก 6 ประการ ที่จะช่วยให้คุณเห็นคุณค่าในตนเอง

คุณเคยรู้สึกว่า คุณยังดีไม่พอหรือเปล่า?
รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า
รู้สึกขาดความมั่นใจ
รู้สึกว่าตัวเองยังไม่ดีพอ

สิ่งเหล่านี้เรียกอีกอย่างว่า Low Self-Esteem หรือ ภาวะขาดความภูมิใจตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่ใครหลายคนกำลังพบเจอ

เพราะในโลกยุคปัจจุบันที่สื่อต่างๆ รอบตัว

มักทำให้เรารู้สึก ‘ดีไม่พอ’ อยู่ตลอดเวลา

ดังนั้น บทความนี้ทางเราจึงได้นำหนังสือ The 6 Pillars of Self-Esteem ซึ่งเป็นหนังสือที่จะช่วยคุณได้ข้อค้นพบคำแนะนำ และแนวทางปฏิบัติเพื่อเป็นตัวเองในเวอร์ชั่นที่ดีขึ้น ผ่านเสาหลักทั้ง 6 ประการ ดังนี้

“เสาหลักที่ 1 การฝึกใช้ชีวิตอย่างมีสติ”

หนึ่งในเครื่องมือที่ทรงพลัง สำหรับการฝึกให้คุณเป็นคนที่มีการตระหนักรู้ในตนเองอยู่เสมอ
คือการตั้งคำถามบ่อยๆ ว่า

If I do this, what will happen?

ถ้าฉันทำเช่นนี้ จะเกิดอะไรขึ้น

 

“เสาที่ 2 การฝึกการยอมรับตนเอง”

เราดำรงอยู่เพื่อตนเอง และเราต้องรับผิดชอบต่อตนเอง

การยอมรับตัวเองจะเป็นไปได้ ก็ต่อเมื่อเรายอมรับอารมณ์ของเรา ตระหนักถึงความคิดของเรา “แต่จงระวัง อย่าปล่อยให้พวกมันชี้นำเรา”

เพื่อเป็นการฝึกฝนการยอมรับตนเอง: ให้คุณลองมองกระจก เพ่งความสนใจไปที่ตัวเอง และพูดซ้ำๆ ดังๆ ว่า

I fully accept myself!

ฉันยอมรับตัวเองอย่างเต็มที่!

ไม่ว่าจะเป็น การยอมรับในสิ่งที่เรารู้สึกไม่ชอบ หรือการยอมรับความผิดพลาดของตัวเอง และถ้าเราทำได้ เราจะมีแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงมากยิ่งขึ้น

“เสาหลักที่ 3 การฝึกความรับผิดชอบ”


เมื่อพูดถึงความรับผิดชอบ สิ่งสำคัญคือ

การตระหนักว่า
เราไม่สามารถควบคุมสิ่งของ หรือเหตุการณ์ใดๆ ได้
เราไม่สามารถมีอิทธิพลต่อสิ่งนั้นได้ 100%

ดังนั้น หากมีเหตุการณ์ที่เกินความคาดหมายเกิดขึ้น
อยากให้ตระหนักไว้ว่า เราไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อสิ่งนั้น

แต่หากสิ่งนั้น ‘ขึ้นอยู่กับตัวเราเพียงคนเดียว’

เราคือผู้ที่ต้องรับผิดชอบตัวเองอย่างเต็มที่

และยอมรับว่า ไม่มีใครสามารถช่วยเหลือเวลาเราพลาดพลั้งได้

คุณต้องช่วยเหลือ และพึ่งพาตัวคุณเอง

 

“เสาหลักที่ 4 การฝึกความกล้าแสดงออก”

Bolton. (1979 : 125) ได้กล่าวถึง พฤติกรรมกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมว่า เป็นการแสดงถึงความสามารถในการรักษาสิทธิของตน และแสดงถึงความต้องการ ค่านิยม ความคิดเห็น แนวความคิดต่างๆ ที่เป็นของตนเองได้อย่างตรงไปตรงมาด้วยวิธีต่างๆ ที่เหมาะสม โดยไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น ซึ่งเป็นการแสดงถึงการยอมรับนับถือ และเห็นคุณค่าของบุคคลอื่นรวมทั้งของตนเองด้วย

โดยในหนังสือเล่มนี้ คุณ Nathaniel Branden ได้แชร์ 4 เคล็ดลับเพื่อฝึกให้ตัวคุณกล้าแสดงออกมากขึ้น ดังนี้

1) Stand up for yourself!
ยืนหยัดเพื่อตัวเอง

2) Be real and original!
เป็นตัวของตัวเองที่ไม่เหมือนใคร

3) Ask! Question everything
ถาม และสงสัยในทุกสิ่งที่เกิดขึ้น

4) Believe that your ideas
and results are important!
เชื่อว่าไอเดีย และผลลัพธ์ของคุณเป็นสิ่งสำคัญ

“เสาหลักที่ 5 การฝึกใช้ชีวิตอย่างมีจุดมุ่งหมาย”

Aldag & Kazuhara (2001, p.253) ได้นิยามคำว่า ‘เป้าหมาย’ หมายถึง ผลตอนสุดท้ายหลังที่ต้องการ จากการทุ่มเทพลังบางอย่างไป
ในขณะที่ Rouillard (1993, p.31) กล่าวว่า เป้าหมาย คือ ความสำเร็จที่ตั้งใจไว้
ส่วน (Wallace & Masters (2002 p.19) อธิบายว่า เป้าหมายเป็นความฝันที่มีเส้นตายคือ ฝันว่าต้องการได้ ต้องการเป็นอะไร หรือทำอะไรแล้วจึงกำหนดวันสำเร็จไว้ด้วย เช่น อ่านหนังสือให้จบภายใน 7 วัน

แล้วหากไม่ตั้งเป้าหมายในชีวิต หรือใช้ชีวิตอย่างไร้เป้าหมาย
จะส่งผลต่อชีวิตเราอย่างไร ?

จาก Setting Goals of Life and Work ของคุณ นฤมล สุ่นสวัสดิ์ ได้ยกตัวอย่างการใช้ชีวิตอย่างไร้เป้าหมายโดยใช้นิทานเรื่อง Alice in Wonderland เนื้อหานั้น ได้เล่าว่า

อลิศที่หลงทางถามกระต่ายขาวว่า
“ควรไปทางไหน?”
กระต่ายขาวตอบด้วยการถามกลับว่า
“ต้องการไปที่ไหนล่ะ?”
อลิศตอบว่า “ที่ไหนก็ได้”
กระต่ายขาวจึงตอบกลับว่า
“ถ้าเช่นนั้น ไม่ต้องกังวลว่าจะไปทางไหน”

เพราะเมื่อไม่รู้ว่าต้องการไปถึงที่ไหน
ไปถึงที่ใดก็ล้วนถูกทั้งสิ้น

ถ้าไม่รู้ว่าชีวิตต้องการเป็นอะไร ต้องการมีอะไร ก็จะเห็นภาพไม่ชัดว่ากำลังเดินทางไปทางไหน และจะถึงที่นั่นได้อย่างไร

หากคุณไม่มีเป้าหมาย

คุณก็ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้

ดังนั้น ตอนนี้คุณต้องการบรรลุอะไร?
อย่าฝันแบบความฝันเด็กๆ ให้คิดถึงเป้าหมายที่เป็นจริง แต่ดูยิ่งใหญ่พอ
“จงคิด วางแผน และทำมันในระยะยาว”

“เสาหลักที่ 6 ฝึกให้มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง”

ยิ่งเราดำเนินชีวิตตามหลักการที่เราตั้งไว้มากเท่าไร
เราจะยิ่งมีความภาคภูมิใจในตนเองมากขึ้นเท่านั้น
ซึ่งล้วนมาจากการกระทำ เล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน

เช่น เราจะรับมือกับความท้าทายนี้อย่างไร?

วันนี้อาจง่ายกว่า หากเราเลือกเส้นทางที่ขรุขระน้อยกว่า แต่ถ้ามันขัดแย้งกับค่านิยมของเรา คุณต้องกลับมาทบทวนให้ดี ยังไม่สายที่จะเริ่มใหม่ แม้ต้องเสียเวลาเดินย้อนกลับไปสู่จุดทางเลือกอีกครั้ง แต่คุณจะไม่รู้สึกเสียใจเลยที่ได้ทำมัน

 

 

อ้างอิงข้อมูลจาก
เว็บไซต์ www.norberthires.blog,ผู้เขียน Norbert Hires

แชร์บทความนี้

บทความล่าสุด

NLP
ศาสตร์ NLP : สมรรถนะที่คุณควรรู้ เครื่องมือปลอดล็อกสมอง & จิตใต้สำนึก
ในโลกที่เต็มไปด้วยความซับซ้อนและความท้าทายของชีวิตประจำวัน เราต้องการเครื่องมือและเทคนิคที่ช่วยให้เราปรับตัวและเติบโตไปพร้อมๆ...
อ่านต่อ...
Coaching
ศาสตร์แห่งการ Coaching ทักษะของผู้นำในศตวรรษที่ 21
ถ้าพูดถึง Coaching บางคนอาจนึกถึงคนที่เป็น “ไลฟ์โค้ช” ที่พูดคำคม หรือสอนแนวคิดให้คนฟัง แต่จริงๆ...
อ่านต่อ...
วะบิซะบิ_wabi sabi
7 บทเรียนจากปรัชญา วะบิ- ซะบิ ความสุขของการยอมรับ "ความไม่สมบูรณ์แบบ"
ในโลกปัจจุบันที่ทุกคนรอบตัวดูสมบูรณ์แบบไปหมด “ยกเว้นตัวเราเอง” พอไถฟีดโซเชียล ก็จะเห็นแต่ทุกคนที่ดูมีความสุข...
อ่านต่อ...
บทความที่เกี่ยวข้อง
NLP
ศาสตร์ NLP : สมรรถนะที่คุณควรรู้ เครื่องมือปลอดล็อกสมอง & จิตใต้สำนึก
ในโลกที่เต็มไปด้วยความซับซ้อนและความท้าทายของชีวิตประจำวัน เราต้องการเครื่องมือและเทคนิคที่ช่วยให้เราปรับตัวและเติบโตไปพร้อมๆ...
อ่านต่อ...
วะบิซะบิ_wabi sabi
7 บทเรียนจากปรัชญา วะบิ- ซะบิ ความสุขของการยอมรับ "ความไม่สมบูรณ์แบบ"
ในโลกปัจจุบันที่ทุกคนรอบตัวดูสมบูรณ์แบบไปหมด “ยกเว้นตัวเราเอง” พอไถฟีดโซเชียล ก็จะเห็นแต่ทุกคนที่ดูมีความสุข...
อ่านต่อ...
14.10
12 นิสัยเล็กๆ ที่ช่วยให้คุณรู้สึกดีกับตัวเองมากขี้น
. 12 นิสัยเล็กๆ ที่ช่วยให้คุณรู้สึกดีกับตัวเองมากขี้น . 1. เก็บที่นอนตอนตื่น 2. ทำสิ่งสำคัญ 20% ที่สร้างผลลัพธ์...
อ่านต่อ...