“เลิกพยายาม” แล้วผลลัพธ์จะตามมาเอง (The Law of Reverse Effect)

ครั้งหนึ่ง มีนักเขียนคนหนึ่งที่เก่งมาก ด้วยความคิดสร้างสรรค์ที่ไหลออกมาดั่งสายน้ำ ทำให้ผลงานของเธอดึงดูดผู้อ่านได้เสมออย่างไรก็ตาม ในวันหนึ่งเธอพบว่า ตัวเองอยู่ในอาการ ‘หัวตื้อ’ คิดงานยังไงก็คิดไม่ออก เธอครุ่นคิดถึงหัวข้อต่างๆ แต่ดูเหมือนไม่มีหัวข้อไหนที่โดนใจเธอเลย เธอทั้งคุ้ยชั้นหนังสือ และค้นหาจากอินเตอร์เน็ต แต่ก็ยังไม่ได้สักที

ความรู้สึกตื่นตระหนกพุ่งเข้ามาในจิตใจอย่างรุนแรง แต่หลังจากหายใจเข้าลึกๆ เธอก็ตัดสินใจอย่างมีสติว่า

“โอเค พอละ คิดไม่ออกก็ไม่เป็นไร ลองปล่อยมันไปก่อน
แล้วเอาเวลานี้ไปโฟกัสสิ่งอื่นที่ไม่ใช่งานแทน

ซึ่งกิจกรรมที่เธอเลือก คือ “การเดินเล่นในป่าอันเงียบสงบ” ในขณะที่เธอเดินเล่นโดยไม่คิดอะไร อยู่ๆ ก็มีไอเดียแว๊บเข้ามาโดยไม่คาดคิด ดังนั้นเธอจึงตระหนักได้ว่า

“เมื่อเธอเลิกพยายามอย่างหนัก
สิ่งที่เธอมองหาก็เกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย”

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?

ทั้งที่เธอต้องการทำงานอย่างให้ออกมาดี แต่ยิ่งพยายามเท่าไหร่ เธอก็ยิ่งทำได้น้อยลงเท่านั้น
ในทางตรงกันข้าม เมื่อเธอเลิกสนใจ โยนความกดดันออกไป แล้วหันไปทำกิจกรรมอย่างอื่นแทน
เธอกลับสามารถ ‘กลับมาเขียน’ ได้อีกครั้ง

สิ่งที่อยากบอกคือ การขวนขวายพยายาม ไม่ได้ให้ในสิ่งที่เราต้องการเสมอไป
ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งเหล่านี้อาจส่งผลร้ายต่อเราได้

โดยผู้บุกเบิกคำนิยามของสถานการณ์เหล่านี้คือคุณ Aldous Huxley และได้ตั้งชื่อว่า ‘The Law of Reverse Effect’ หรือ กฎแห่งผลย้อนกลับ เขาได้กล่าวว่า

The harder we try with the conscious will to do something,
the less we shall succeed.

ยิ่งเราพยายามทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความตั้งใจมากเท่าไหร่
เรายิ่งมีโอกาสประสบความสำเร็จน้อยลงเท่านั้น

ดังนั้น เป็นไปได้ไหมว่า?
เมื่อเราหยุดพยายามที่จะประสบความสำเร็จ เราจะสามารถเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จ
ผลลัพธ์จะเกิดขึ้นเมื่อเราหยุดใส่ใจ (มากเกินไป) หรือไม่?

ทางเราอยากให้ลองเรียนรู้ ผ่านเรื่องเล่า “พ่อค้า กับ นักปราชญ์” กัน

นานมาแล้วในสมัยโบราณของจีน พ่อค้าคนหนึ่งได้พบกับนักปราชญ์ผู้หนึ่ง ซึ่งเขาได้ยินมาว่า “บุคคลท่านนี้เป็นคนที่ฉลาดที่สุดคนหนึ่ง”

พ่อค้าจึงพยายามทำให้นักปราชญ์ประทับใจโดยบอกว่า เขาทำเงินได้เท่าไหร่ในสัญญาการค้าล่าสุด
นักปราชญ์พยักหน้า แต่ดูไม่ประทับใจนัก
จากนั้น เขาเชิญนักปราชญ์มาเยี่ยมเขา
เพื่อดูบ้านหลังใหญ่และความมั่งคั่งทั้งหมด
ที่เขาสะสมมาหลายปี แต่นักปราชญ์ก็ยังไม่ประทับใจ

นักปราชญ์กลับถามพ่อค้าว่า
“ทำไมเขาถึงต้องการสร้างความประทับใจให้เขาด้วยการอวดสิ่งของต่างๆ ที่มี?”

เนื่องจากพ่อค้าไม่เข้าใจคำถามนักปราชญ์ จึงเตือนเขาให้นึกถึงคำพูดของเล่าจื๊อที่กล่าวว่า

“ผู้ที่พยายามส่องแสงเหนือผู้อื่น จะหรี่แสงของตนเองลง
ผู้ที่เรียกตนเองว่าชอบธรรม จะไม่รู้ว่าตนเองผิดอย่างไร
ผู้ที่โอ้อวดในความสำเร็จของพวกเขา
จะทำให้สิ่งที่พวกเขาทำลดน้อยลง”

– Lao Tzu, Tao Te Ching, 24

เรามักได้รับการสอนว่า ‘ความสำเร็จต้องใช้ความพยายาม’ แต่ด้วยหลายสิ่งในชีวิต ‘ความพยายาม’ ก็อาจสวนทางกันได้ สำหรับพ่อค้าในนิทานข้างต้น เขาต้องการได้รับการยอมรับจากนักปราชญ์ แต่ยิ่งเขาพยายามเท่าไหร่เขาก็ยิ่งทำลายความประทับใจของนักปราชญ์เท่านั้น นักปราชญ์เตือนเราว่า “ยิ่งเรายัดเยียดความสำเร็จให้คนอื่น แสงในตัวเราจะยิ่งริบหรี่ลง”

ผู้คนต่างหวาดระแวงบุคคลที่โอ้อวด คุยโม้ และต้องการเป็นจุดสนใจจากคนอื่น พวกเขากำลังพยายามพิสูจน์อะไร? ดูเหมือนว่า พวกเขาอยากโน้มน้าวให้โลกเห็นคุณค่าของพวกเขา ยิ่งเรารู้สึกว่าเราจำเป็นต้องโน้มน้าวให้โลกรู้ว่า ‘เรามีคุณค่าขนาดไหน’ โลกจะคิดว่าเรามีคุณค่าน้อยลงเท่านั้น

ซึ่งอาจแสดงให้เห็นได้ว่า “หากพ่อค้าไม่กระตือรือร้นที่จะสร้างความประทับใจให้นักปราชญ์ แล้วปล่อยให้ความสำเร็จของเขาพูดด้วยตัวเอง” เมื่อช่วงเวลาที่เหมาะสมมาถึง ผู้คนจะสามารถรับรู้ได้ แม้กระทั่งนักปราชญ์เองก็จะประทับใจมากขึ้น ไม่ใช่เพราะความสำเร็จเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะ ‘ความถ่อมตัว’ ของเขาเองด้วย

อ้างอิงจาก: ช่องยูทูป Einzelgänger

แชร์บทความนี้

บทความล่าสุด

NLP
ศาสตร์ NLP : สมรรถนะที่คุณควรรู้ เครื่องมือปลอดล็อกสมอง & จิตใต้สำนึก
ในโลกที่เต็มไปด้วยความซับซ้อนและความท้าทายของชีวิตประจำวัน เราต้องการเครื่องมือและเทคนิคที่ช่วยให้เราปรับตัวและเติบโตไปพร้อมๆ...
อ่านต่อ...
Coaching
ศาสตร์แห่งการ Coaching ทักษะของผู้นำในศตวรรษที่ 21
ถ้าพูดถึง Coaching บางคนอาจนึกถึงคนที่เป็น “ไลฟ์โค้ช” ที่พูดคำคม หรือสอนแนวคิดให้คนฟัง แต่จริงๆ...
อ่านต่อ...
วะบิซะบิ_wabi sabi
7 บทเรียนจากปรัชญา วะบิ- ซะบิ ความสุขของการยอมรับ "ความไม่สมบูรณ์แบบ"
ในโลกปัจจุบันที่ทุกคนรอบตัวดูสมบูรณ์แบบไปหมด “ยกเว้นตัวเราเอง” พอไถฟีดโซเชียล ก็จะเห็นแต่ทุกคนที่ดูมีความสุข...
อ่านต่อ...
บทความที่เกี่ยวข้อง
วะบิซะบิ_wabi sabi
7 บทเรียนจากปรัชญา วะบิ- ซะบิ ความสุขของการยอมรับ "ความไม่สมบูรณ์แบบ"
ในโลกปัจจุบันที่ทุกคนรอบตัวดูสมบูรณ์แบบไปหมด “ยกเว้นตัวเราเอง” พอไถฟีดโซเชียล ก็จะเห็นแต่ทุกคนที่ดูมีความสุข...
อ่านต่อ...
1
3 วิธี “เลิกยึดติด” แล้วเราจะไม่เจ็บปวดอีกต่อไป
“บางสิ่งอยู่ในการควบคุมของเรา และบางสิ่งไม่ได้อยู่ในการควบคุมของเรา สิ่งที่อยู่ในการควบคุมของเราคือ ความคิดเห็น...
อ่านต่อ...
สำเนาของ 12.08
ทำไมความเฉยเมยคือพลังที่ยิ่งใหญ่
เมื่อหลายศตวรรษก่อน อเล็กซานเดอร์มหาราช ตัดสินใจไปเยี่ยมนักปรัชญาผู้หนึ่งที่มีนามว่า Diogenes (ไดโอจีเนส)...
อ่านต่อ...